Decarbonization: วิธีแก้ปัญหาสำหรับทุกประเทศหรือว่าเป็น Market Killer?

Adam Lienhard
Adam
Lienhard
Decarbonization: วิธีแก้ปัญหาสำหรับทุกประเทศหรือว่าเป็น Market Killer?

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นความท้าทายเร่งด่วนและหลากหลายแง่มุมสำหรับมนุษยชาติ โดยเกิดจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ที่กักเก็บความร้อนและทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเหล่านี้คือการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ ซึ่งใช้สำหรับกระบวนการด้านพลังงาน การขนส่ง และอุตสาหกรรม

สิ่งที่กล่าวมานี่คือที่มาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อที่จะบรรเทาผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุด เช่น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และความขาดแคลนอาหาร เราจำเป็นต้องลดหรือกำจัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลก ซึ่งเป็นจุดที่แนวคิดเรื่องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง

Decarbonization คืออะไร?

Decarbonization หมายถึงการลดหรือกำจัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเชิงกลยุทธ์จากทั้งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม มีหลายวิธีการที่สามารถช่วยกระบวนการนี้ได้ เช่น:

  • ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลและลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนของครัวเรือน ธุรกิจ และอุตสาหกรรม
  • การเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน เพื่อหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือมลพิษที่เป็นอันตรายอื่นๆ ออกสู่ชั้นบรรยากาศ
  • การใช้เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอน เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอยู่ และอำนวยความสะดวกในการใช้แหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำ เช่น ไฮโดรเจนหรือเชื้อเพลิงชีวภาพ
  • กำจัดการสะสมของก๊าซคาร์บอนจากเครื่องยนต์และเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร

การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนส่งผลกระทบต่อตลาดต่างๆ อย่างไร

การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มีผลกระทบต่างๆ ต่อตลาดที่แตกต่างกัน มาลองดูผลกระทบบางประการกัน

ตลาดพลังงานหมุนเวียน

ตลาดนี้ครอบคลุมเทคโนโลยีที่สร้างพลังงานสะอาดและยั่งยืนจากแหล่งต่างๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม และแบตเตอรี่ นอกจากนี้ยังรวมถึงรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ใช้พลังงานประเภทนี้ในการคมนาคม เนื่องจากความต้องการพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ตลาดนี้จึงคาดว่าจะขยายตัว อีกทั้งยังสามารถกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกได้เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมมากขึ้น

ตลาดที่มุ่งเน้นไปที่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ตลาดประภทนี้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยลดการใช้พลังงานและของเสียในอาคารและอุตสาหกรรม ซึ่งอาจรวมถึงอุปกรณ์ ระบบ และซอฟต์แวร์ที่ช่วยประหยัดพลังงาน เนื่องจากประสิทธิภาพการใช้พลังงานมีความสำคัญมากขึ้นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ตลาดนี้จึงคาดว่าจะเติบโตมากยิ่งขึ้น

ตลาดเทคโนโลยีสะอาด หรือ Cleantech

ตลาดนี้ครอบคลุมถึงเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอน ซึ่งสามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศหรือโรงไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมสำหรับการประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น กริดอัจฉริยะ ไฮโดรเจนสีเขียว และพลาสติกชีวภาพ เนื่องจากความต้องการโซลูชั่นเทคโนโลยีสะอาดเพิ่มมากขึ้น คาดว่าตลาดนี้ก็จะกำลังเจริญมากขึ้นเช่นกัน

ตลาดการเงิน

ตลาดเหล่านี้ครอบคลุมการลงทุนและกระแสเงินทุนที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนและบริษัทต่างๆ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนอาจส่งผลกระทบต่อตลาดเหล่านี้ เนื่องจากนักลงทุนอาจชื่นชอบบริษัทที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าและมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยกว่า ในทางกลับกัน บริษัทที่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นจำนวนมากอาจเผชิญกับความยากลำบากในการดึงดูดเงินทุน หากพวกเขาไม่ปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค

ตลาดนี้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคซื้อเพื่อการใช้ส่วนบุคคลหรือภายในครัวเรือน การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสามารถส่งผลกระทบต่อตลาดนี้ได้ เนื่องจากผู้บริโภคอาจชอบผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าและมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่า บริษัทที่สามารถแสดงความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนอาจได้รับความได้เปรียบในตลาดนี้

ผลกระทบของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่อตลาดน้ำมัน

เนื่องจากการลดการปล่อยคาร์บอนเกี่ยวข้องกับการลดและกำจัดการปล่อยก๊าซคาร์บอน จึงจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันด้วย นี่คือผลกระทบบางส่วนที่อาจแพร่กระจายไปทั่วตลาดน้ำมัน:

อุปทานหดตัว: ความพยายามทั่วโลกในการลดการปล่อยคาร์บอนทำให้ผลผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติลดลง เนื่องจากปริมาณสำรองขนาดใหญ่ของเชื้อเพลิงเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ที่มีความสามารถในการกำจัดก๊าซคาร์บอนที่จำกัด เช่น ตะวันออกกลาง การชะลอตัวของการผลิตอาจส่งผลให้อุปทานน้ำมันขาดแคลน

ความผันผวนของราคา: อุปทานที่ลดลงที่คาดการณ์ไว้ พร้อมด้วยความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความยั่งยืนของน้ำมัน อาจทำให้ราคาน้ำมันลดลง ราคาที่ต่ำลงเหล่านี้อาจทำให้ผู้ผลิตน้ำมันตึงเครียดทางการเงิน และอาจนำไปสู่การล้มละลายในหมู่ผู้ประกอบการรายย่อย

การเปลี่ยนเส้นทางเงินทุน: การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจะส่งผลต่อกระแสการลงทุน การเปลี่ยนแปลงนี้อาจนำไปสู่การลดเงินทุนสำหรับการลงทุนด้านน้ำมันและก๊าซแบบเดิมๆ และการลงทุนที่พุ่งเป้าไปที่โครงการริเริ่มด้านพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของตลาด: การเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนกำลังเปลี่ยนภูมิทัศน์ด้านพลังงาน ส่งผลให้น้ำมันมีความจำเป็นน้อยลง การเปลี่ยนผ่านนี้คาดว่าจะยังคงดำเนินต่อไปเนื่องจากเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมีความเข้มงวดมากขึ้น และทำให้น้ำมันอยู่ในกลุ่มพลังงานที่ด้อยโอกาสยิ่งขึ้น

การปรับนโยบาย: รัฐบาลทั่วโลกกำลังออกมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งอาจมีอิทธิพลต่อตลาดน้ำมัน นโยบายที่บังคับใช้การเก็บภาษีคาร์บอนหรือการจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนอาจทำให้น้ำมันมีราคาแพงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลือกพลังงานหมุนเวียน ซึ่งอาจเป็นตัวขัดขวางการใช้น้ำมัน

แม้ว่าแนวโน้มเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความท้าทายต่อตลาดน้ำมัน แต่ก็ยังเปิดช่องทางสำหรับนวัตกรรมและการขยายตัวของการใช้พลังงานหมุนเวียน การเปิดรับนวัตกรรมและโซลูชั่นพลังงานที่ยั่งยืนไม่เพียงแต่บรรเทาผลกระทบด้านลบเท่านั้น แต่ยังปูทางไปสู่ภูมิทัศน์พลังงานระดับโลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจมากขึ้น

ติดตามเราได้ที่ เทเลแกรม, อินสตาแกรม และ เฟซบุ๊ก เพื่อรับการอัปเดตจาก Headway ทันที