การรับมือความผันผวนของตลาด

Adam Lienhard
Adam
Lienhard
การรับมือความผันผวนของตลาด

ความผันผวนหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดและไม่แน่นอนในตลาดการเงิน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจส่งผลต่อมูลค่าสินทรัพย์ พอร์ตการลงทุน และสภาวะตลาดที่กว้างขึ้น ด้วยการทำความเข้าใจกลไกของความผันผวน ผู้ลงทุนสามารถลดความเสี่ยงและให้ความต่อเนื่องในการดำเนินงานทางการเงิน

ทำความเข้าใจกับความผันผวน

ความผันผวนหมายถึงระดับของการเปลี่ยนแปลงในราคาซื้อขายของตราสารทางการเงินในช่วงเวลาหนึ่ง มักวัดโดยใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานหรือความเเปรปวน ความผันผวนสูงบ่งชี้ว่าราคาของสินทรัพย์สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างมากในช่วงเวลาสั้นๆ ในขณะที่ความผันผวนต่ำบ่งบอกว่าราคาค่อนข้างคงที่

ความผันผวนเป็นส่วนสำคัญของตลาดการเงิน ซึ่งสะท้อนถึงระดับของความไม่แน่นอนและความเสี่ยง การทำความเข้าใจความผันผวนช่วยให้นักลงทุนและนักเทรดมีข้อมูลในการตัดสินใจมากขึ้นและจัดการพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทของความผันผวน

ความผันผวนมีหลายประเภท ได้แก่:

  • ความผันผวนในอดีต: ความผันผวนประเภทนี้ใช้วัดความเคลื่อนไหวของราคาในอดีตของหลักทรัพย์หรือดัชนีตลาดในช่วงเวลาที่กำหนด นักลงทุนและนักเทรดใช้ความผันผวนในอดีตเพื่อประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ช่วยให้พวกเขาเข้าใจความเคลื่อนไหวของราคาโดยทั่วไปของสินทรัพย์ และคาดการณ์ความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
  • ความผันผวนโดยนัย: ความผันผวนประเภทนี้ได้มาจากราคาออปชันและสะท้อนถึงความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับความผันผวนในอนาคต โดยเป็นมาตราวัดที่มองไปข้างหน้า ความผันผวนโดยนัยสูงอาจนำไปสู่ค่าพรีเมียมของออปชั่นที่สูงขึ้น ทำให้เกิดโอกาสสำหรับผู้ขายออปชั่น ในขณะที่ความผันผวนโดยนัยต่ำอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อออปชั่น

มาตราวัดทั้งสองเป็นเครื่องมืออันมีค่าสำหรับนักลงทุนและนักเทรดในการประเมินความเสี่ยงและการตัดสินใจอย่างมีข้อมูลรอบด้านในตลาดการเงิน

ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความผันผวน

แม้ว่าจะมีโอกาสในการทำกำไรจากความผันผวน แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงเช่นกัน การทำความเข้าใจความเสี่ยงเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล ประเภทความเสี่ยงต่อไปนี้คือความเสี่ยงหลักบางประการที่เกี่ยวข้องกับความผันผวน

  • ความเสี่ยงด้านตลาด: ความผันผวนคือการแสดงความเสี่ยงด้านตลาด ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงของการขาดทุนอันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดในทางลบ ความผันผวนที่สูงขึ้นจะเพิ่มโอกาสที่ราคาจะแกว่งอย่างมาก ส่งผลให้นักลงทุนที่ถือสถานะในหุ้น พันธบัตร สินค้าโภคภัณฑ์ หรือตราสารทางการเงินอื่นๆ มีโอกาสขาดทุน
  • ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง: ความผันผวนที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้สภาพคล่องของตลาดลดลง ทำให้การซื้อหรือขายสินทรัพย์ในราคาที่ต้องการมีความท้าทายมากขึ้น ในช่วงที่มีความผันผวนสูง ผู้เข้าร่วมตลาดอาจลังเลในการเทรดมากขึ้น ส่งผลให้การขาดแคลนสภาพคล่องรุนแรงขึ้น และอาจส่งผลให้ราคาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
  • ความเสี่ยงด้านจิตวิทยา: ความผันผวนอาจส่งผลทางจิตวิทยาต่อนักลงทุน ทำให้เกิดอารมณ์บางอย่างขึ้น เช่น ความกลัว ความตื่นตระหนก หรือความโลภ การตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ในช่วงที่มีความผันผวนสามารถนำไปสู่การเลือกการลงทุนที่ไม่มีเหตุผล พฤติกรรมแห่ลงทุนตามกัน และการรับความเสี่ยงมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้ความผันผวนของตลาดรุนแรงขึ้น และทำให้การขาดทุนรุนแรงมากขึ้นได้
  • ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ: การตอบสนองด้านกฎระเบียบต่อความผันผวนของตลาด เช่น การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดด้านมาร์จิ้น ข้อจำกัดในการเทรด หรือมาตรการแทรกแซง อาจส่งผลกระทบต่อผู้เข้าร่วมตลาดและสถาบันการเงิน การดำเนินการด้านกฎระเบียบที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การจัดการความผันผวนอาจขัดขวางการดำเนินการของตลาด เพิ่มต้นทุนการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของตลาดได้

ด้วยการรับรู้และทำความเข้าใจความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความผันผวน ผู้เข้าร่วมตลาดสามารถใช้มาตรการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมเพื่อปกป้องพอร์ตการลงทุนของตน ลดโอกาสการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น และอยู่ในสภาวะตลาดที่ปั่นป่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการความผันผวนของตลาด

การจัดการความผันผวนของตลาดถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุนและนักเทรดในการรับมือกับสภาวะตลาดที่ปั่นป่วนและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น กลยุทธ์ต่อไปนี้เป็นหลายกลยุทธ์ที่ใช้จัดการความผันผวนของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. การกระจายความเสี่ยง: การกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เช่น หุ้น พันธบัตร และอสังหาริมทรัพย์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความผันผวนได้ สินทรัพย์แต่ละประเภทอาจมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันในช่วงที่ตลาดเครียด ซึ่งสามารถสร้างสมดุลให้กับการขาดทุนได้
  2. การถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือ Dollar-Cost Averaging: ด้วยการลงทุนในจำนวนคงที่ในช่วงเวลาสม่ำเสมอ โดยไม่คำนึงถึงสภาวะตลาด นักลงทุนสามารถบรรเทาผลกระทบจากความผันผวนของราคาในระยะสั้นได้ กลยุทธ์นี้ช่วยให้สามารถลงทุนได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างยิ่งในช่วงที่มีความผันผวนสูง
  3. การลงทุนระยะยาว: การมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายการลงทุนระยะยาวสามารถช่วยให้นักลงทุนก้าวผ่านความผันผวนของตลาดได้ แม้ว่าความผันผวนในระยะสั้นอาจเป็นอุปสรรค แต่พอร์ตการลงทุนที่มีความหลากหลายสามารถทนต่อภาวะตกต่ำของตลาดและฟื้นตัวได้ในระยะยาว

ด้วยการใช้กลยุทธ์เหล่านี้ นักลงทุนและนักเทรดสามารถจัดการความผันผวนของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรับมือกับสภาพแวดล้อมของตลาดที่ไม่แน่นอนไปพร้อมๆ กับการบรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะยาวได้

การทำความเข้าใจความผันผวนและผลกระทบที่มีต่อตลาดการเงินถือเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจลงทุนโดยมีข้อมูลครบถ้วน ด้วยการรวมความรู้เรื่องความผันผวนเข้ากับกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล นักลงทุนสามารถรับมือกับตลาดขาขึ้นและขาลงได้ดียิ่งขึ้น และอาจได้รับผลกำไรจากช่วงที่มีกิจกรรมทางการตลาดมีมากขึ้น

ติดตามเราได้ที่ เทเลแกรม, อินสตาแกรม และ เฟซบุ๊ก เพื่อรับการอัปเดตจาก Headway ทันที